เริ่มขึ้นในปี 1943 กองทัพเรือจักรวรรดิ์ต้องการเครื่องบินสกัดกั้นรุ่นใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น
แทนที่รุ่นเก่า ๆ ซึ่งเริ่มจะสู้เค้าไม่ได้แล้ว
กองทัพเรือจึงส่งโจทย์ให้แต่ละบริษัทไปออกแบบเครื่องรุ่นใหม่มา แล้วมาส่งตอนปลายปี
ใครชนะจะได้สัมปทานไป ตัว J7W นั้น เจ้าของโครงการคือนาวาตรีมาซาโอกิ ทสึรูโนะ
ผู้ซึ่งออกแบบเจ้าชินเด็น "อัสนีงดงาม" (ผมไม่รู้ว่าจะใช้คำไหนมาแปลดีนะ
555) ดีไซน์ของเจ้าชินเด็นนั้นดูแปลกตาไปจากอากาศยานอื่น ๆ ของญี่ปุ่นมาก
โดยจะมีการติดตั้งปีกคานาร์ดเข้าไปด้านหน้าเพื่อเพิ่มความสเถียรของตัวเครื่อง
แต่จุดประสงค์ของการออกแบบจริง ๆ คือ เป็น "เครื่องบินเทอร์โบเจ็ท"
หากแต่กำลังของญี่ปุ่นในตอนนั้นยังไม่พร้อมสำหรับเครื่องยนต์เจ็ทเท่าไรนัก จึงคงต้องใช้เป็นใบพัดไปก่อน
เมื่อถึงเวลาส่งแบบร่าง มีบริษัทนากาจิม่าและคาวานิชิต่างส่งแบบเข้าสู้กับเจ้า J7W ของกองทัพเรือ กองทัพเรือก็ดูจะสนใจเจ้า J7W มากเป็นพิเศษแต่แนวคิดปีกคานาร์ดนั้นจะใช้ได้จริง
ๆ หรือ? พวกเขาต้องการการพิสูจน์ โครงการเครื่องร่อน Kugisho
MYX6 จึงได้เริ่มเดินหน้าและหลังจากการทดสอบก็ให้ผลน่าพอใจมากจนได้ไฟเขียวให้เดินหน้า
J7W ต่อและมอบหน้าที่ให้บริษัทคิวชูรับผิดชอบการผลิต
โครงการเดินหน้ามาจนถึงเดือนมิถุนายนปี 1944 แบบร่าง J7W1 ก็เสร็จสิ้น มันจะติดตั้งเครื่องยนต์มิตซูบิชิ Ha-43 สูบดาว 18 กระบอกสูบ ใบพัด 6 กลีบที่ด้านหลังเครื่องและเสริมด้วยซูเปอร์ชาร์จเจอร์เพื่อเพิ่มกำลังเครื่อง (ในตอนนั้นญี่ปุ่นเองก็มีเครื่องยนต์เจ็ทแล้วคือ TR-12 แต่กำลังเครื่องยังไม่ค่อยน่าพอใจนัก ทสึรูโนะจึงปัดตกไป) ตามแผน J7W1 จะติดตั้งอาวุธหลักคือปืนใหญ่อากาศไทป์ 5 ขนาด 30 mm จำนวน 4 กระบอก แต่ละกระบอกมีอัตราการยิงกว่า 500 นัดต่อนาทีแต่บรรจุกระสุนไว้กระบอกละ 66 นัด แม้จะมีกระสุนน้อยแต่ถ้าโดนจัง ๆ แค่นัดเดียวก็พอที่จะทำให้เครื่องข้าศึกร่วงได้แล้ว (ความจริงมีการติดตั้งปืนกลอากาศไทป์ 1 ขนาด 7.92 mm ด้วย 2 กระบอกแต่ใช้ในการฝึกกะระยะก่อนที่จะใช้ปืนใหญ่อากาศเท่านั้น ตอนออกปฏิบัติการรบจะถูกถอดออก) นอกจากนี้เครื่อง J7W1 ยังสามารถติดตั้งระเบิดขนาด 264 ปอนด์ได้อีก 1 ลูก
หลังจากการทดสอบในอุโมงค์ลมแล้วก็ให้ผลน่าพึงพอใจ แบบจึงถูกส่งต่อไปให้โรงงานคิวชู ฮารูดะในเมืองฟุกุโอกะทำการผลิตต่อ กว่าจะเสร็จก็ปาเข้าไปเดือนมิถุนายนปี 1945 การบินทดสอบเป็นไปอย่างรีบเร่งตามสถานการณ์ของญี่ปุ่นในเวลานั้นแม้จะตรวจพบเรื่องปัญหาเรื่องการหล่อเย็นของเครื่องยนต์มิตซูบิชิ Ha-43 ก็ตาม โดยนักบินนั้นไม่ใช่ใครที่ไหนเลย เขาคือคนที่อยากจะเห็นความฝันของตัวเองโบยบินได้มากที่สุด 'นาวาตรีมาซาโอกิ ทสึรูโนะ' เจ้าของโครงการนั่นเอง แต่ระหว่างกำลังทำการเชิดหัวขึ้น เครื่องชินเด็นก็เกิดแรงทอร์ครุนแรงที่ปีกด้านขวา ทำให้เสียการทรงตัวจนไถลออกนอกรันเวย์ ใบพัด 6 กลีบด้านหลังฟันกับรันเวย์จนบิดงอไปหมด หลังจากการตรวจสอบก็พบว่าแพนแนวดิ่งที่ติดตั้งที่ปีกด้านขวาเกิดความเสียหายจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ โชคยังดีที่นักบินไม่เป็นอะไร แต่ก็ทำให้โครงการนี้ล่าช้าเข้าไปอีก
วันที่ 3 สิงหาคมปี 1945 ชินเด็นก็พร้อมแล้วสำหรับการบินทดสอบอีกครั้ง คราวนี้บินโดยนักบินของบริษัทคิวชู 'โยชิทากะ มิยาอิชิ' ซึ่งก็รายงานว่าความเร็วลงจอดเครื่องนั้นสูงมาก หากใช้นักบินไม่มีประสบการณ์คงจะไถลไปกับรันเวย์แน่
วันที่ 6 สิงหาคม การทดสอบยังคงดำเนินต่อโดยเน้นไปที่ความคล่องตัวของเครื่องแต่ก็พบปัญหาว่าอุณหภูมิของน้ำมันพุ่งขึ้นสูงมากจนน่าตกใจหลังการบินทดสอบในวันที่ 8 สิงหาคม มิยาอิชิก็ยังคงรายงานเรื่องการที่เครื่องนั้นควบคุมยากและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุตอนการลงจอดมาก ถังน้ำมันสั่นจนน่าตกใจแถมเครื่องยนต์ยังมีแรงบิดกระทำสูงมากจนไม่ปลอดภัย
อย่างไรก็ตามสงครามโลกจบลงในวันที่ 15 กันยายนเมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข โครงการ J7W1 และ J7W2 (รุ่นติดเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท) จึงต้องจบลง รวมจำนวนชินเด็นที่ผลิตแค่ 2 เครื่องเท่านั้น
โครงการเดินหน้ามาจนถึงเดือนมิถุนายนปี 1944 แบบร่าง J7W1 ก็เสร็จสิ้น มันจะติดตั้งเครื่องยนต์มิตซูบิชิ Ha-43 สูบดาว 18 กระบอกสูบ ใบพัด 6 กลีบที่ด้านหลังเครื่องและเสริมด้วยซูเปอร์ชาร์จเจอร์เพื่อเพิ่มกำลังเครื่อง (ในตอนนั้นญี่ปุ่นเองก็มีเครื่องยนต์เจ็ทแล้วคือ TR-12 แต่กำลังเครื่องยังไม่ค่อยน่าพอใจนัก ทสึรูโนะจึงปัดตกไป) ตามแผน J7W1 จะติดตั้งอาวุธหลักคือปืนใหญ่อากาศไทป์ 5 ขนาด 30 mm จำนวน 4 กระบอก แต่ละกระบอกมีอัตราการยิงกว่า 500 นัดต่อนาทีแต่บรรจุกระสุนไว้กระบอกละ 66 นัด แม้จะมีกระสุนน้อยแต่ถ้าโดนจัง ๆ แค่นัดเดียวก็พอที่จะทำให้เครื่องข้าศึกร่วงได้แล้ว (ความจริงมีการติดตั้งปืนกลอากาศไทป์ 1 ขนาด 7.92 mm ด้วย 2 กระบอกแต่ใช้ในการฝึกกะระยะก่อนที่จะใช้ปืนใหญ่อากาศเท่านั้น ตอนออกปฏิบัติการรบจะถูกถอดออก) นอกจากนี้เครื่อง J7W1 ยังสามารถติดตั้งระเบิดขนาด 264 ปอนด์ได้อีก 1 ลูก
หลังจากการทดสอบในอุโมงค์ลมแล้วก็ให้ผลน่าพึงพอใจ แบบจึงถูกส่งต่อไปให้โรงงานคิวชู ฮารูดะในเมืองฟุกุโอกะทำการผลิตต่อ กว่าจะเสร็จก็ปาเข้าไปเดือนมิถุนายนปี 1945 การบินทดสอบเป็นไปอย่างรีบเร่งตามสถานการณ์ของญี่ปุ่นในเวลานั้นแม้จะตรวจพบเรื่องปัญหาเรื่องการหล่อเย็นของเครื่องยนต์มิตซูบิชิ Ha-43 ก็ตาม โดยนักบินนั้นไม่ใช่ใครที่ไหนเลย เขาคือคนที่อยากจะเห็นความฝันของตัวเองโบยบินได้มากที่สุด 'นาวาตรีมาซาโอกิ ทสึรูโนะ' เจ้าของโครงการนั่นเอง แต่ระหว่างกำลังทำการเชิดหัวขึ้น เครื่องชินเด็นก็เกิดแรงทอร์ครุนแรงที่ปีกด้านขวา ทำให้เสียการทรงตัวจนไถลออกนอกรันเวย์ ใบพัด 6 กลีบด้านหลังฟันกับรันเวย์จนบิดงอไปหมด หลังจากการตรวจสอบก็พบว่าแพนแนวดิ่งที่ติดตั้งที่ปีกด้านขวาเกิดความเสียหายจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ โชคยังดีที่นักบินไม่เป็นอะไร แต่ก็ทำให้โครงการนี้ล่าช้าเข้าไปอีก
วันที่ 3 สิงหาคมปี 1945 ชินเด็นก็พร้อมแล้วสำหรับการบินทดสอบอีกครั้ง คราวนี้บินโดยนักบินของบริษัทคิวชู 'โยชิทากะ มิยาอิชิ' ซึ่งก็รายงานว่าความเร็วลงจอดเครื่องนั้นสูงมาก หากใช้นักบินไม่มีประสบการณ์คงจะไถลไปกับรันเวย์แน่
วันที่ 6 สิงหาคม การทดสอบยังคงดำเนินต่อโดยเน้นไปที่ความคล่องตัวของเครื่องแต่ก็พบปัญหาว่าอุณหภูมิของน้ำมันพุ่งขึ้นสูงมากจนน่าตกใจหลังการบินทดสอบในวันที่ 8 สิงหาคม มิยาอิชิก็ยังคงรายงานเรื่องการที่เครื่องนั้นควบคุมยากและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุตอนการลงจอดมาก ถังน้ำมันสั่นจนน่าตกใจแถมเครื่องยนต์ยังมีแรงบิดกระทำสูงมากจนไม่ปลอดภัย
อย่างไรก็ตามสงครามโลกจบลงในวันที่ 15 กันยายนเมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข โครงการ J7W1 และ J7W2 (รุ่นติดเครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท) จึงต้องจบลง รวมจำนวนชินเด็นที่ผลิตแค่ 2 เครื่องเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น